Gifted คืออะไร?


เด็กอัจฉริยะGifted - Presentation Transcript

  1. เด็กอัจฉริยะ (Genius) หรือ Gifted
  2. ความหมายของเด็ก Gifted
    • หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางปัญญาสูงกว่าเด็กทั่วไป และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีสมรรถนะในการคิด ประดิษฐ์ สรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์ เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านสามารถ สังเกตได้จากพฤติกรรมเหล่านี้
    • 1) แสดงความสามารถในการใช้ศัพท์ได้สูงกว่าวัย เช่น ลูกอายุ 2 ขวบ สามารถพูดว่า " แม่หมากำลังมาหาลูกหมาแล้ว " แทนที่จะพูดว่า " หมา หมา " เป็นต้น
    • 2) ช่างสังเกต และตื่นตัวอยู่เสมอ เด็กที่เก่งมักจะสังเกตในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และจำได้ดี 3) สามารถอธิบายเรื่องราวที่ได้ทำมาในวันนั้นได้อย่างดี 4) มีสมาธิ ตั้งใจทำอย่างใจจดใจจ่อ ในเรื่องที่ตนสนใจ 5) มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถแสดงออกมาได้ เป็นต้น
    • คำที่ใช้เรียกเด็กฉลาดอาจมีหลายคำ เช่น คำว่า เด็กอัจฉริยะ เด็กปรีชาญาณ เด็กเก่ง และคำสุดท้ายที่นำมาใช้ในวงการศึกษา คือ เด็กปัญญาเลิศ คำ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในวงการนี้มีหลายคำเช่นกัน เช่น
    • -Gifted หมายถึง ผู้ที่มีความฉลาดเฉลียวหรือผู้มีปัญญาเลิศ
    • -Talented หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทาง เช่น ด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา
    • -Genius หมายถึง ผู้ที่ระดับสติปัญญาสูง มีผลงานการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์มากมาย
  3. ลักษณะของเด็กอัจฉริยะ
    • เด็กปัญญาเลิศ เป็นเด็กที่มีสติปัญญาสูง มีความเฉลียวฉลาดกว่าเด็กทั่วไป ความฉลาดได้ส่อแววมาตั้งแต่ในวัยเด็กเล็ก เด็กอาจจะเดินได้ วิ่งได้ ตั้งแต่อายุยังน้อย มีพัฒนาการล้ำหน้ากว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน เรียนรู้ได้รวดเร็วหากมีการทดสอบทางด้านสติปัญญาหรือความถนัด เด็กเหล่านี้จะได้คะแนนสูงกว่าเด็กทั่วไป เด็กปัญญาเลิศมักจะเก่งในด้านต่อไปนี้
    • 1) มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่เจริญเติบโตได้เร็วกว่าเด็กปกติ 2) มีความสามารถในการเรียนรูสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 3) มีความอยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบชักถาม 4) มีความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ได้ในชีวิตจริง 5) มีเหตุผล ความคิดดี 6) จดจำสิ่งที่เคยเห็นเคยอ่านได้รวดเร็วและแม่นยำ
    • 7) มีความรู้กว้างขวางเกินวัย 8) ใช้คำศัพท์กว้างขวาง ถูกต้องแม่นยำและปริมาณคำที่รู้จักก็มีมาก 9) มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ แต่ใช้การได้ดีและมีอารมณ์ขัน 10) เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต 11) มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน 12) ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
  4. พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
    • 1) เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว มักมีคำถามชวนคิด 2) สมาธิในการเรียนและการทำงานดี 3) สนใจและสนุกกับปัญหาที่ยากซับซ้อน 4) อ่านหนังสือได้เร็วกว่าอายุ 5) ชอบประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือในแนวใหม่ๆ 6) ใช้ภาษาได้ดี รู้จักคำศัพท์กว้างขวางเกินวัย ชอบเรียนหนังสือ
    • 7) แก้ปัญหาด้วยวิธีการหลากหลาย 8) มีลักษณะเป็นผู้นำในกลุ่มเด็กวัยเดียวกัน
  5. ความต้องการพิเศษ
    • เด็กปัญญาเลิศ เป็นเด็กที่เรียนสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว ดังนั้นหากเนื้อหาและวิธีการสอนที่ใช้กับเด็กปกติ จึงมักทำให้เด็กเหล่านี้เบื่อง่าย เพราะไม่ท้าทายความคิด หากครูไม่เข้าใจก็จะกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา ก่อกวนความสงบสุขของชั้นไปได้ ทางโรงเรียนจึงควรจัดบริการสอนเสริมให้กับเด็ก ซึ่งอาจทำในรูปของ
    • 1) การจัดชั้นพิเศษ โดยคัดแยกเด็กเก่งมาเรียนในกลุ่มเดียวกัน และจัดหลักสูตรพิเศษให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของเด็ก
    • 2) การสอนเร่ง เป็นการเรียนหลักสูตรปกติในเวลาที่น้อยลง เช่น การเรียนข้ามชั้น ควบชั้น เป็นต้น
    • 3) การสอนเพิ่ม เป็นการเสริมความรู้และประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น นอกเหนือจาก กิจกรรมในชั้นเรียน และ / หรือให้โอกาสได้ฝึกฝนเล่าเรียนในแขนงวิชาที่เด็กมีความถนัดเป็นพิเศษ
  6. ประเภทของเด็กอัจฉริยะ ( Gifted)
  7. ประเภทของเด็กอัจฉริยะแบ่งตามความสามารถของ เด็ก ดังนี้  
    • ความสามารถทางอารมณ์   เป็นทักษะและความสามารถที่เราจำเป็นต้องใช้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในการติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจ คนที่มีความสามารถทางสังคมจะมีความสามารถที่จะเข้าใจผู้อื่น เร็วต่อความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจภาษากาย มีความสามารถในการบริหารจัดการ ควบคุมอารมณ์ตนเอง เข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกของตนเอง รับรู้ภาวะทางอารมณ์ของตนเอง นอกเหนือไปจากการมองเห็นและเข้าใจทัศนะของคนอื่นได้ดี คนที่มีความสามารถทางด้านมนุษยธรรมจะมีความ
  8. ความสามารถทางอารมณ์  
    • เป็นทักษะและความสามารถที่เราจำเป็นต้องใช้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในการติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจ คนที่มีความสามารถทางสังคมจะมีความสามารถที่จะเข้าใจผู้อื่น เร็วต่อความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจภาษากาย มีความสามารถในการบริหารจัดการ ควบคุมอารมณ์ตนเอง เข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกของตนเอง รับรู้ภาวะทางอารมณ์ของตนเอง ความอดกลั้นอดทนทางอารมณ์ได้ดี รวมถึงความสามารถในการแสดงออกอย่างถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ นอกเหนือไปจากการมองเห็นและเข้าใจทัศนะของคนอื่นได้ดี คนที่มีความสามารถทางด้านมนุษยธรรมจะมีความ
  9. ความสามารถทางกีฬา  
    • เป็นความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ ควบคุมการเคลื่อนไหว ความยืดหยุ่น ทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ รวมถึงการใช้กล้ามเนื้อร่างกาย ในการแสดงออกถึงความรู้สึกหรือความคิด เช่น นักกีฬา นาฏศิลป์ นักแสดง นักปั้น
  10. ความสามารถทางศิลปะ
    • เป็นความสามารถสร้างมิติประมวลความคิด หรือสร้างความคิดจากการเห็นในรูปแบบต่างๆ ในความคิด เช่น ความสามารถในการพลิก หมุนภาพที่เห็นเป็นมุมต่างๆ มองเห็นภาพต่างๆ อย่างทะลุปรุโปร่ง เช่น กลุ่มศิลปินที่สามารถรังสรรค์จากการเห็นให้เป็นผลงานที่เป็นนามธรรม ความงดงาม หรือเป็นตัวแทนของ ความรู้สึกนึกคิด เช่น กลุ่มศิลปิน นักประดิษฐ์
  11. ความสามารถทางภาษา
    • เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจความหมายทางภาษา การใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ เพื่อมาถ่ายทอดความคิด จินตนาการ ความรู้ อารมณ์หรือความดื่มด่ำลึกซึ้งทางความคิด อารมณ์ ตลอดจนจินตนาการอันหลากหลายที่อาจเป็น ความสามารถในการใช้ภาษาทางด้านการเขียนหรือการพูด เช่น นักเขียน นักแปล นักภาษาศาสตร์ จินตกวี นักพูด โฆษก
  12. ความสามารถทางช่างเทคนิคและอิเล็กทรอนิกส์  
    • เป็นความสามารถในการรับรู้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรกลทีต้องใช้ทักษะกลไกในเรื่องของอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือต่างๆ สามารถมองเห็นองค์ประกอบ หรือการทำงานของอุปกรณ์ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อ่างรวดเร็ว ง่ายดาย เช่น ช่าง นักอิเล็กทรอนิกส์ มีทักษะในการใช้ตาประสาน ประกอบอุปกรณ์หรือสร้าง ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ได้อย่างดี
  13. ความสามารถทางวิทยาศาสตร์
    • เป็นความสามารถในการสังเกต วิเคราะห์ พิสูจน์ คัดแยก ศึกษา อธิบาย รวมถึงเขาใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือการเกิดปรากฏการณ์สิ่งต่างๆ ทางธรรมชาติ ความสามารถในการมองเห็นโครงสร้างของระบบธรรมชาติ ความเข้าใจในความสัมพันธ์และผลกระทบที่จะเกิด เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพืช - สัตว์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักธรรมชาติวิทยา เกษตรกร นักวิจัย นักภูมิศาสตร์
  14. ความสามารถทางการคิด  
    • คือความสามารถในการเรียนรู้ จดจำ วิเคราะห์สังเคราะห์ จินตนาการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และ / หรือระยะยาว การมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม รวมทั้งความสามารถในการประมวลความคิดรูปแบบ ต่างๆ เพื่อตอบสนองสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างคนที่มีความสามารถด้านนี้ ได้แก่ นักคิด นักวางแผนนักประดิษฐ์
  15. ความสามารถทางดนตรี  
    • เป็นความสามารถในการรับรู้ทางการได้ยินที่ละเอียดอ่อน เฉียบไว ถ่ายโยงความสามารถในการรับรู้ทางการได้ยินที่ลึกซึ้ง ทั้งความสูงต่ำของเสียง ความถี่ของเสียง จังหวะของเสียงไปสู่จิตใจ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดมา ถักทอเป็นรูปแบบทางความสามารถที่เกี่ยวข้องกับเสียง เช่น ดนตรี การร้องเพลง การแต่งเพลง การพากย์หนัง การเลียนเสียงสัตว์ หรือผู้ที่ฝึกนกเขาชวา หรือตัดสินความสามารถในการขันของนกเขาชวา ต้องมีความสามารถในการรับรู้ทางเสียงที่เฉียบคม เป็นต้น
    •  
  16. วิธีสอนเด็กอัจฉริยะ ( Gifted) ในชั้นเรียนร่วม
    • 1. การเรียนรู้แบบรู้แจ้ง
    • - เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน ตามระดับความสามารถของเด็ก โดยครูแจกแจงเนื้อหาวิชาออกเป็นขั้นย่อย ๆ หลาย ๆ ขั้น แล้วให้เด็กได้เรียนตามทีละขั้น โดยไม่มีการเร่งรัดเกี่ยวกับเวลามากนัก ให้เด็กเรียนไปเรื่อย ๆ ตามความสามารถ จนกระทั่งเด็กเรียนด้วยตนเองครบหน่วยของเนื้อหาที่ครูกำหนด การเรียนรู้แบบนี้เป็นทางเลือกอย่างหนึ่งที่ให้เด็กเลือกเรียนได้ตามความสามารถ
  17. 2) การจัดหลักสูตรให้กะทัดรัด
    • - เป็นการปรับปรุงหลักสูตรวิธีหนึ่งเพื่อให้เหมาะกับเด็กปัญญาเลิศโดยมุ่งเน้นให้เด็กได้มุ่งเรียนในเนื้อหาวิชาที่เป็นจุดสำคัญจริง ๆ ในบางครั้ง จึงจำเป็นต้องตัดกิจกรรมการเรียนบางอย่างออกไป เมื่อครูเห็นว่าเด็กมีทักษะแล้ว เช่น การนำเข้าสู่บทเรียน การทบทวนแบบฝึกหัด การทบทวนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น แต่ครูจะต้องแน่ใจว่าเด็กมีพื้นฐานแล้ว จึงจะเรียนเนื้อหาวิชาที่ยากขึ้นได้
  18. 3) การคิดเชิงวิจารณ์
    • - เป็นการสอนให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักใช้เหตุผลก่อนตัดสินใจและไม่ได้หลงเชื่อใครง่าย ๆ ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญคือ ประการแรกการตรวจสอบข้อมูล ว่าข้อมูลที่ได้รับมาถูกต้องหรือไม่เพียงใด ควรเลือกเชื่อข้อมูลประเภทใด เมื่อทราบแหล่งที่มาของข้อมูลแล้ว จะต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลว่า น่าเชื่อถือหรือไม่ พิจารณาถึงข้อดีข้อเสียก่อนตัดสินใจบางครั้งอาจมีการตั้งสมมติฐานไว้ในใจ แล้วหาทางพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่จึงจะทำการตัดสินใจได้ถูกต้อง
  19. 4) ศูนย์การเรียน
    • - เป็นการจัดมุมใดมุมหนึ่งในห้องเรียน หรือในโรงเรียนให้เป็นมุมหรือศูนย์ที่เน้นเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่งตามเนื้อหาในหลักสูตร แล้วให้เด็กเข้าศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามศูนย์ที่ครูจัดไว้ เด็กบางคนอาจมีความสนใจในเนื้อหาที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ครูอาจจัดตั้งศูนย์พัฒนาความสนใจขึ้น เพื่อให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองก็ได้
  20. 5) การคิดระดับสูง
    • - เป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้ตามแนวความคิดของนักการศึกษาชาวอเมริกัน ชื่อ Benjamine Bloom ซึ่งกล่าวว่า การสอนให้มีความรู้ และความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเป็นการสอนให้มีความรู้ในระดับต่ำ ครูควรจะสอนให้เด็กนำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลสิ่งที่เรียนดี ไม่ดี มีประโยชน์ ไม่มีประโยชนอย่างไร จึงจะถือว่าประสบผลสำเร็จ เพราะนั่นคือการสอนให้เด็กรู้จักการคิดในระดับสูง
    • 6) การศึกษาด้วยตัวเอง - เป็นการมอบหมายให้เด็กได้ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งในแนวลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เด็กให้ความสนใจอย่างมาก แต่ครูจะต้องคอยให้คำแนะนำเด็ก เมื่อได้ความรู้มาแล้วนักเรียนจะต้องจัดความรู้เป็นหมวดหมู่ แล้วนำเสนอในรูปแบบของรายงาน วีดิทัศน์ หรือนิทรรศการ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียน
    • 7) การฝึกงานกับผู้ชำนาญงาน - เป็นการส่งเด็กปัญญาเลิศไปฝึกงานกับผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ชำนาญการนั้นถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เด็กปัญญาเลิศ
    • 8) การสอนเร่ง - เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนเนื้อหาที่ยากขึ้น เกินกว่าที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
    • 9) การสอนเสริม - เป็นการสอนตามเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่มีกิจกรรมที่กว้างขวางขึ้น เนื้อหาเดิมแต่กิจกรรมอาจมีมากขึ้น ทั้งแนวลึกและแนวสร้างสรรค์ ซึ่งอาจจัดเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือเป็นค่ายฤดูร้อนก็ได้
    • 10) การข้ามชั้น - เป็นการเลื่อนชั้นเรียนให้สูงขึ้น
    • 11) การเข้าเรียนก่อนเกณฑ์ - เป็นการส่งเด็กเข้าเรียนเมื่ออายุยังน้อย ตามปกติแล้วเด็กจะเข้าเรียนเมื่ออายุครบตามเกณฑ์ที่กฎหมากำหนด
    • 12) การเรียนตามความสามารถของตนเอง - เป็นการให้เด็กปัญญาเลิศเรียนหนังสือด้วยตัวเองตามเนื้อหาที่กำหนด โดยครูจะนำเนื้อหาวิชามาแบ่งเป็นตอน ๆ หรือเป็นชุด ๆ แล้วให้เด็กเรียนด้วยตนเองเป็นชุด ๆ ตามความสามารถของเด็ก ไม่มีการกำหนดเวลา เด็กจะเรียนกี่ชุดหรือทุกชุดก็ได้
    • 13) การเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเมื่ออายุยังน้อย - ตามปกติแล้วเด็กจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หากระเบียบการต่าง ๆ เปิดกว้างกว่านี้ เด็กเก่งอาจมีโอกาสเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเมื่ออายุยังน้อยก็ได้ หากเกณฑ์การเข้ามหาวิทยาลัยพิจารณาความสามารถทางวิชาการเป็นหลัก ไม่มีข้อจำกัดด้านอายุ เป็นต้น
    • 14) การเรียนทางไปรษณีย์ - เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนด้วยตนเองทางไปรษณีย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยบางแห่งจัดสอน อาจฟังคำบรรยายจากเทปเสียง หรือจากวีดิทัศน์ก็ได้ ซึ่งเด็กจะเรียนได้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความสามารถและความสนใจของตน
    • 15) การเรียนล่วงหน้า - เป็นการอนุญาตให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าไปเลือกเรียนบางรายวิชาในระดับมหาวิทยาลัยได้ และเก็บสะสมหน่วยกิตไว้ เมื่อเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจริง จะช่วยให้เด็กเรียนจบระดับมหาวิทยาลัยเร็วขึ้น
    • 16) การแก้ปัญหา - เป็นการฝึกให้เด็กแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการเรียน หรือปัญหาในสังคมก็ได้ ครูอาจให้เด็กทำงานคนเดียวหรือทำงานเป็นกลุ่มก็ได้ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักการวิเคราะห์ปัญหาว่าปัญหาเกิดมาจากอะไร มีที่มาอย่างไร
    • 17) การจัดหลักสูตรฉบับย่อ - เป็นการจัดหลักสูตรที่เข้มข้น เพื่อให้เด็กปัญญาเลิศได้เรียนภายในเวลาที่สั้นลง
    • 18) การนับหน่วยกิตโดยการสอบ - เป็นการสอบโดยที่เด็กไม่ต้องมาเรียน ให้เด็กเรียนด้วยตนเองที่บ้าน เมื่อสิ้นภาคเรียนให้เด็กเข้าสอบ หากเด็กสอบได้ เด็กก็ได้รับสิทธิในการสอบผ่านการเรียนวิชานั้น และเก็บสะสมหน่วยกิตไว้ เมื่อหน่วยกิตครบตามหลักสูตรก็ถือว่าสำเร็จการศึกษา
  21. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของเด็กอัจฉริยะ ( Gifted)
  22. ศูนย์ GTX ท้องถิ่น หน่วยเสาะหาเด็กอัจฉริยะ
    • จากสถานการณ์ปัจจุบัน ทุกประเทศที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจโลก เปลี่ยนแปลงจากยุคการแข่งขันด้านผลผลิตทางธรรมชาติ การลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด หันมาแข่งขันทางด้านความสามารถของบุคคลในชาติ เป็นการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Economy) และเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการสร้างบุคคลที่มีอัจฉริยภาพและมีความสามารถพิเศษ ไทยจึงจำเป็นต้องค้นหาคนเก่งพิเศษและสนับสนุนบุคคลเหล่านี้ให้ขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีอัจฉริยภาพ เป็นบุคคลสำคัญในแต่ละสาขาอาชีพของสังคม ที่สามารถสร้างผลงาน สามารถดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และเป็นกำลังสำคัญของชาติให้ได้ ซึ่งเราได้เริ่มดำเนินการแล้วผ่านศูนย์เสาะหาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษในท้องถิ่นหรือศูนย์จีทีเอ็กซ์ (Gifted and Talented Exploring Center: GTX)
    • ศูนย์จีทีเอ็กซ์
    • ที่ ดร . ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนา องค์ความรู้ ( สบร ) ( องค์การมหาชน ) สำนัก นายกรัฐมนตรี หมายถึงนั้น พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ ( สสอน ) อธิบายเพิ่มเติมว่า สสอน .
    • จัดตั้งศูนย์นี้มากว่า 4 ปี ทำหน้าที่ในการค้นหาและพัฒนาเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ระดับนานาชาติ โดยจนถึงปี 2550 มีศูนย์จีทีเอ็กซ์ 42 ศูนย์ ใน 21 จังหวัด และตั้งเป้าว่าภายในปี 2552 จะจัดตั้งให้แล้วเสร็จเพิ่มขึ้นอีก 19 ศูนย์ ใน 19 จังหวัด เพื่อช่วยขยายพื้นที่บริการของศูนย์จีทีเอ็กซ์เป็น 61 ศูนย์ ใน 40 จังหวัด รูปแบบการดำเนินการจะเสาะหาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษใน 8 ด้านหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาและวรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี กีฬา สังคมศาสตร์และความริเริ่มสร้างสรรค์
    • พลเรือเอกฐนิธ
    • กล่าวด้วยว่า ตลอด 4 ปี มีเด็กและเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษที่เข้าร่วมการทดสอบตามมาตรฐานทางวิชาการในด้านต่างๆจำนวน 89,000 คน และผ่านเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกและเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเฉพาะทางและค่ายทั่วไปประมาณ 3,647 คน จากนั้นคัดกรองเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษโดดเด่นอย่างแท้จริงได้ 304 คน ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษและมีศักยภาพโดเด่นที่ศูนย์จีทีเอ็กซ์ค้นพบจะได้รับการพัฒนาต่อยอดไปในระดับที่สูงขึ้น เช่น การเข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพในสาขาต่างๆ ของเยาวชนตามมหาวิทยาลัยชั้นนำ
    • กระบวนการสำคัญที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการค้นพบเพชรที่พร้อมจะได้รับการเจียระไนจากท้องถิ่นแล้วคือ คณะผู้บริหารโรงเรียนและครูประจำศูนย์จีทีเอ็กซ์ทุกศูนย์ ได้รับการเติมเต็มองค์ความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
    • เช่น องค์ความรู้ เกี่ยวกับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ องค์ความรู้ เกี่ยวกับ Brain-based Learning องค์ความรู้ เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้และศูนย์ GTX ทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้ และทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ บทบาทและภารกิจของครูศูนย์ GTX ซึ่งทำให้ครูมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้นในการดำเนินงานจัดการเรียนรู้ และสามารถจุดประกายความคิดที่สร้างสรรค์ให้แก่เด็กและเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษภายในศูนย์จีทีเอ็กซ์ได้
  23. ด . ช . ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี วัย 6 ขวบ บุคคลตัวอย่างของเด็กอัจฉริยะ
    • ชื่อ ด . ช . ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี วัย 6 ขวบ ผู้มีความสามารถโดดเด่น รอบด้านเกินวัย
    • จนทำให้สื่อต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจ สัมภาษณ์เผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และรายการโทรทัศน์หลายครั้งหลายหน
    • ทั้งยังมีเว็บไซต์ส่วนตัว www.squidoo.com/dhanat รวบรวมภาพวาดแนวนามธรรม และการแสดงเดี่ยวไวโอลินบน YouTube ที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมแล้ว 3,5000,000 ครั้ง
  24. ภาพวาดของเขาสร้างชื่อเสียงจนได้ฉายาว่า “ ปิกัสโซน้อย ” 
    • นอกจากนี้ยังมีความสามารถเป็นเลิศอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น ดนตรี กีฬา วิชาการ ภาษาอังกฤษ ฯลฯ จนกล่าวได้ว่าเขาคือหนูน้อยอัจฉริยะ
    • น้องธนัชมีชีวิตที่ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป ได้เล่นสนุกประสาเด็ก มีความร่าเริงแจ่มใสเต็มเปี่ยมด้วยพลังที่จะช่วยเหลือผู้อื่น และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ
    • และโชคดีที่มีคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา และไวพอจะสังเกตเห็นความพิเศษในตัวลูก พยายามหาทางส่งเสริมและพัฒนาความสามารถนั้นจนก้าวสู่ความเป็นเลิศ
    • ผู้อ่านจะได้เห็นคุณพ่อคุณแม่คู่นี้ที่ทำงานเป็นทีม และพร้อมจะพาลูกไปค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ โดยทำทุกเรื่องให้เป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก
    • เมื่อการเรียนรู้ไม่ใช่ยาขมแต่เป็นขนมหวาน เด็กๆ ก็เพลิดเพลินได้ไม่รู้เบื่อ นี่คือหัวใจของการเรียนรู้ ที่เป็นมิตรกับสมองซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการสร้างลูกให้เป็นคนเก่งและคนดี
    • ซึ่งคุณธนูและคุณวัชราภรณ์ เปลวเทียนยิ่งทวี ( คุณพ่อและคุณแม่ของน้องธนัช ) ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และกลเม็ด เคล็ดลับทั้งหลายสู่ผู้อ่านเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบุตรหลานของท่าน ด้วยความเชื่อว่า “ เด็กทุกคนมีพรสวรรค์อยู่ในตัว ”   ขอเพียงมีมือพ่อแม่ที่ประสานกันอย่างเหนียวแน่นเป็นผู้นำทาง
  25. หนังสืออ้างอิง http://www.klothailand.com/iqmusic.htm C:Documents and SettingsAdministratorMy Documents ภาพเด็ก . htm http://www.giftedcenter.org/who1.php
  26. จัดทำโดย นางสาว มโนชา วามะเกตุ รหัสนักศึกษา 15112013 นางสาว ดวงสุดา โคกาบุญ รหัสนักศึกษา 15112007 โปรแกรมวิชา คณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์